วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบโปสเตอร์




 โปสเตอร์ (Poster) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือ
เล็กแล้วแต่ผู้จัดทำใช้ติดตามสถานที่ต่าง ๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก 
เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือ
บริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอ
เพียงแนวความคิดเดียวเป็นหลักใหญ่


ประโยชน์ของโปสเตอร์
 1.  โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ 
ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์ 
   2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ 
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ


ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 
       2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา 
       3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ 
       4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม 
       5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์ 
       6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ 
       7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล 
       8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น 

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและการนำเสนอ วีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์




หนังสั้น คือ เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10นาที
 โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว




ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น
1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
2. ขั้นการผลิต (Production)
3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
5. ขั้นเผยแพร่

การเขียนบทวีดิทัศน์
บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง 
ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกัน
และสื่่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ได้แก่


1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์ (Fully script) เป็นบทที่บอกทุกสิ่งทุกอย่างไว้

2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์ (Semi script )เป็นบทที่วางแนวทางของเรื่องไว้

3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet )
บทโทรทัศน์ประเภทนี้ เขียนเพียงคำสั่งของส่วนต่างๆที่สำคัญในรายการฉากที่สำคัญๆ

4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะแสดงเพียงเค้าโครง
ของรายการในลักษณะร่างลำดับของรายการตั้งแต่เริ่มต้นจบรายการ


องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะนำเรื่อง (introduction) เป็นตอนต้นของเรื่อง 
ให้ผู้ชมสนใจเรื่องราวต่างๆ ที่จะบอกเล่า
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง เป็นส่วนที่บอกถึงเรื่องนั้นๆว่าดำเนินอย่างไร (development) 
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่จะเปิดเผยเรื่อง (climax) 
4. เป็นส่วนที่สรุป เมื่อเสนอเรื่องนั้นจบแล้ว บางครั้งอาจจะให้ผู้ดูสรุปเอง ขึ้นอยู่กับการออกแบบรายการ


วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด เรื่อง จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ




1.  ถ้าต้องการออกแบบและนำเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้สีใด 
ในการออกแบบ เพราะเหตุใดจงอธิบาย
>> สีน้ำตาล เพราะให้ความรู้สึกถึงความเก่าแก่ โบราณ แสดงให้เห็นถึงความเรียบร้อย ความมั่นคงและความสะดวกสบาย และยังหมายถึงโลก พื้นดิน ป่าไม้ด้วย

2.  ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ


ภาพนี้ต้องการสื่อถึงปลาโลมาที่กำลังกระโดดขึ้นจากผืนน้ำ
 ซึ่งตัวปลาโลมาจะมีสีที่ตัดกับท้องฟ้าทำให้เห็นปลาโลมาได้ชัด



ภาพนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงคลื่นที่กระทบที่ฝั่งจนเกิดฟอง
 สังเกตได้จากสีขาวซึ่งเป็นสีของฟองคลื่น

3.             เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู อย่างไร
>>ทำให้มีสีสันที่น่าดูยิ่งขึ้น ทำให้ถนอมสายตาได้ ไม่ต้องเพ่งภาพเป็นเวลานาน

4.              เส้นตั้งให้ความรู้สึกอย่างไรแก่ผู้ดู
>>ให้ความรู้สึกสูง สง่า มั่นคง ถ้าสูงไปก็จะทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกการเจริญเติบโต

5.              เส้นนอนให้ความรู้สึกอย่างไร
>>ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอกภัย และความเป็นธรรมชาติ

6.              เส้นเฉียงให้ความรู้สึกอย่างไร
>>ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ตื่นเต้น สนุกสนาน ไม่อยู่กับที่

7.              ให้นิสิตหาภาพที่แสดงถึงองค์ประกอบของความขัดแย้ง





>> ภาพนี้แสดงถึงความขัดแย้งตรงที่โทนสีเขาใช้โทนร้อนกับโทนเย็นอยู่ด้วยกันเลยให้ความรู้สึกขัดแย้งกัน

8. ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ




>>เป็นภาพที่ให้ความสบายตา สบายใจ

เป็นสีโทนเย็น ให้ความรู้สึกสดชื่น

9.  ให้นิสิตหาภาพการจัดองค์ประกอบความสมดุลมา 2 ภาพ   พร้อมอธิบาย 




 >>ภาพนี้มีทิศทางของแสงและเงาทำให้เกิดความสมดุล
 มีความกลมกลืนกันระหว่างต้นไม้และปราสาทหิน



>>ภาพนี้ดิฉันรู้สึกว่ามันมีความสมดุลกันเพราะถึงอีกฝั่งจะมีก้อนเมฆ
แต่อีกฟากกยังมีดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นจากขอบฟ้า



จิตวิทยาสีของการออกแบบและการนำเสนอ





การใช้สีตามหลักการใช้สี

1. การใช้สีเพื่อให้สีแต่ละสีประสานกลมกลืนกัน  (Harmony coloring)   ตามปกติแล้ว ความกลมกลืนเป็นความพอดีหรือความพึงพอใจในการจดัส่วนประกอบต่างๆ ทางศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิวและสีเป็นต้น
1.1การใช้สีกลมกลืนดว้ยค่าน้ำหนักของสี (value  harmony)
1.2 การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง (symple harmony)

1.3 การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสม ( Two colors and mixing)

1.4 การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR)
1.5 การสร้างความกลมกลืนโดยใช้วรรณะของสี(TONE OF COLOR)

1.6 การสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีในลักษณะสีเอกรงค์ (MONOCHROME)
1.7 การกลับค่าของสี (DISCORD)

2. การใช้สีให้ประสานส่งเสริมกัน

การตัดกันหรือการต่างกันของสีแต่ละสีสามารถพิจารณาความแตกต่างกันเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
 1. ตัดกันด้วยความเป็นสีแท้ (HUE)
 2. ตัดกันด้วยพลังของสี (SATULATION)
 3. ตัดกันด้วยค่าน้ำหนัก (VALUE)

แนวทางการออกแบบ




การนำเสนอโดย Power point
 • ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ 
• เสียเวลาในการเรียนวิธีใช้โปรแกรม
• ยุ่งยากต่อการออกแบบสไลด์
• ต้องการเครื่องฉายสไลด์

การวางรูปแบบของสไลด์

• ใช้รูปแบบ Slide 35 mm
• วางแนวนอน
• ใช้ Templates ที่มีในโปรแกรม
• เว้นขอบทั้ง 4 ด้านให้ว่าง ~ 0.5 นิ้ว
• เนื้อหาจัดให้อยู่กลางสไลด์

การใช้ภาพประกอบ

• ภาพที่ใช้ต้องช่วยเสริมข้อความที่เสนอ
• ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็ ฃน
• ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความชัด
• ลดสิ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งเหยิง
• ภาพที่ใช้อาจทำให้ขนาดของแฟ้มข้อมูลใหญ่เกินไป

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารและทฤษฎีการสื่อสาร








การสื่อสารจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยคำพูด หรือ ท่าทาง หรือ การมองเห็นก็ยังนับว่าเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง

การสื่อสารจะมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่ 
1.)ตนเอง  2.)ระหว่างบุคคล  3.)กลุ่มย่อย  4.)กลุ่มใหญ่  5.)มวลชน

การสื่อสารที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้   
1.)ผู้ส่งสาร ( Source )  2.)สาร ( Message )  3.)สื่อหรือช่องทาง ( Media or Channel ) 
 4.)ผู้รับ ( Receiver )  5.)ผล ( Effect )  6.)ผลย้อนกลับ (Feedback )

อุปสรรคของการสื่อสาร
                                 1.)คำพูด ( Verbalisn
                                 2.)ฝันกลางวัน ( Day Dreaming )
                                 3.)ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง ( Referent Confusion )
                                 4.)การรับรู้ที่จำกัด ( Limited Perception )
                                 5.)สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย ( Physical Discomfort )
                                 6.)การไม่ยอมรับ ( Inperception )

ภาพความประทับใจในการพัฒนาชุมชน







ที่ดิฉันประทับภาพเหล่านี้เพราะคนในชุมชนแต่ละชุมชนก็ได้ช่วยกันพัฒนาหมู่บ้านของตนให้มีความเจริญมากขึ้นและช่วยเหลือกัน มองเห็นถึงความสามัคคีของคนในรูป เขาไม่เกี่ยงว่างานหนักงานเบาหรือหน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เขามาร่วมมือช่วยกันเพื่อพัฒนาบ้านของเขาเอง  อีกภาพหนึ่งก็มองเห็นความมีน้ำใจของคนไทยด้วยกันด้วยการมาช่วยกันอัดฟางไว้เป็นก้อน เพื่อจะได้เก็นได้ง่ายขึ้น

ความสำคัญของการออกแบบและการนำเสนออย่างสรรค์กับการพัฒนาชุมชน







ดิฉันเห็นว่าการออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากเรามีการนำเสนอที่ดีและสร้างสรรค์ก็จะทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความเข้าใจและสามารถจดจำได้ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์ และจะะทำให้งานพัฒนาชุมชนนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยาก